• ภาษาไทย
    • English

เกี่ยวกับสาขา

สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ประวัติความเป็นมา

                    สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้เปิดการเรียนการสอนในปี 2547 โดยมีการเปิดสอน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ. เทคโนโลยีอุตสาหการ) แผนการรับ หลักสูตร 4 ปี และเทียบโอนผลการเรียน 2 ปีต่อเนื่อง และ ภาคพิเศษสมทบ เสาร์-อาทิตย์  โดยมีอาจารย์ประจำ จำนวน 12 คน และ บุคลากร 2 คน มีอาคารโรงงานทั้งหมด  3 หลัง และห้องปฏิบัติการ 6 ห้อง ห้องเรียนบรรยายจำนวน 3 ห้อง สถานที่ตั้ง อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สัญลักษณ์  


 

วิสัยทัศน์ (Vision) 

                สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  เป็นสาขาที่มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ  มีคุณธรรมจริยาธรรม  เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม

พันธะกิจ  (Mission)

1.  ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีคุณธรรมจริยธรรม

2.  สร้างงานวิจัย  สิ่งประดิษฐ์  นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

3.  พัฒนาคุณภาพอาจารย์ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการและคุณวุฒิ

4.  บริการวิชาการและพัฒนาอาชีพ  เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

5.  ทำนุบำรุงศาสนา  ส่งเสริมศิลปะวัฒนาธรรมไทย  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย

1.  ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและมีความรู้และทักษะวิชาชีพด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีคุณธรรมจริยธรรม  ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม

2.  มีงานวิจัย  สิ่งประดิษฐ์  นวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

3.  มีโครงการหรือกิจบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม

สีประจำสาขา

              สีเลือดหมู

หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดทำการเรียนการสอน

ระดับปริญญาตรี

         เปิดทำการเรียนการสอนจำนวน 1 หลักสูตรประกอบด้วย

                1. .หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.เทคโนโลยีอุตสาหการ) 2 ปีต่อเนื่อง

เป้าประสงค์ (Goals)

  1. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและมีความรู้และทักษะวิชาชีพด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทีมีคุณธรรมจริยธรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของการตลาดแรงงานและสังคม
  2. มีงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่เพื่อพัฒนาชุมชน และสังคม
  3. พัฒนาคุณวุฒิทางการศึกษาของบุคลากรให้มีสัดส่วน เอก-โท เพิ่มขึ้น
  4. สนับสนุนอาจารย์ให้มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
  5. มุ่งพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์
  6. มีจำนวนกิจกรรมด้านจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  7. มีโครงการหรือกิจกรรมบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม